ตู้คอนเทนเนอร์นับเป็นหัวใจสำคัญในวงการโลจิสติกส์ เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์เป็นสิ่งที่ใช้ในการบรรจุสินค้าจำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ง่ายต่อการจัดระเบียบ และเพิ่มพื้นที่ขนส่งสินค้าให้มากขึ้น โดยตู้คอนเทนเนอร์นั้นสามารถแบ่งได้หลายขนาดและประเภทเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของผู้ส่งสินค้าแต่ละประเภท
ในวันนี้ CPLINTER จึงได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์แบบอ่านง่ายๆมาให้
ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
ตู้คอนเทนเนอร์แบบมาตรฐานมีทั้งหมด 3 ขนาด ได้แก่
1. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต
20′ : กว้าง 2.3 x ยาว 5.90 x สูง 2.3 เมตร
รับน้ำหนักได้สูงสุด 21 ตัน
เหมาะสำหรับสินค้าหนัก เช่น เครื่องจักร
2. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต
40′ : กว้าง 2.3 x ยาว 12 x สูง 2.3 เมตร
รับน้ำหนักได้สูงสุด 26 ตัน
เหมาะสำหรับสินค้าน้ำหนักเบาที่มีจำนวนมาก
3. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุตไฮคิวบ์
40′ HC : กว้าง 2.3 x ยาว 12 x สูง 2.6 เมตร
รับน้ำหนักได้สูงสุด 26 ตัน
เหมาะสำหรับสินค้าน้ำหนักเบา จำนวนมาก และขนาดใหญ่
หมายเหตุ: ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ
ชนิดของตู้คอนเทนเนอร์
ตู้คอนเทนเนอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน
1. ตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน (Dry Container)
เป็นตู้คอนเทนเนอร์ประเภทที่ถูกใช้งานมากที่สุด มีหลายขนาด ทนทานสูง แต่ไม่มีระบบควบคุมอุณหภูมิ จึงเหมาะกับการขนส่งสินค้าที่มีลักษณะแห้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า เป็นต้น
2. ตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมอุณหภูมิ (Reefer Container)
เป็นตู้สินค้าที่มีการติดตั้งเครื่องทำความเย็น และที่วัดอุณหภูมิเพื่อแสดงอุณหภูมิของตู้สินค้า จึงทำให้มีค่าบริการที่แพงกว่าตู้คอนเทนเนอร์แบบมาตรฐาน เหมาะสำหรับการบรรจุของสด อาหาร ยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมอยู่เสมอ
3. ตู้คอนเทนเนอร์เปิดหลังคา (Open Top Container)
เป็นตู้ที่มีความสูงมากเป็นพิเศษ และด้านบนเปิดโล่ง ไม่มีหลังคา เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่สูงกว่าปกติ เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่ ท่อ และยานพาหนะเป็นต้น เนื่องจากตู้ประเภทนี้ไม่สามารถวางซ้อนกันได้ จึงทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ และมีค่าบริการสูงกว่าตู้แบบปกติ
4. ตู้คอนเทนเนอร์แบบพื้นราบ (Flat-rack Container)
ตู้คอนเทนเนอร์ชนิดนี้มีจุดเด่นคือ ไม่มีผนังด้านบนและด้านข้าง เปิดโล่งออกเพื่อใช้บรรจุสินค้าที่มีลักษณะกว้าง และสูงเกินตู้มาตรฐาน มักใช้ขนส่งเครื่องยนต์อุตสาหกรรม รถแทรกเตอร์ และวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
5. ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุของเหลว (ISO Tank Container)
ตู้คอนเทนเนอร์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาให้เหมือนถังบรรจุของเหลว โดยจะมีโครงครอบอยู่เพื่อให้สามารถซ้อนทับกันได้ ตู้ชนิดนี้ใช้สำหรับบรรจุของเหลวโดยเฉพาะ
6. ตู้คอนเทนเนอร์ระบายอากาศ (Ventilated Container)
ตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้จะมีช่องระบายอากาศอยู่บริเวณด้านล่างและด้านบนของตู้ ซึ่งสามารถระบายอากาศและกันไอน้ำได้ด้วย โดยมักใช้ในการขนส่งสินค้าที่มีความชื้นเช่น เมล็ดโกโก้ เมล็ดกาแฟ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ เพราะสามารถป้องกันการเน่าเสียได้ดี โดยมีข้อดีคือราคาถูกกว่าตู้คอนเทนเนอร์แบบควบคุมอุณหภูมิ
หากท่านใดสนใจบริการด้านโลจิสติกส์ CPLINTER ให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรแบบ Door To Door ทั้งบริการส่งของไปต่างประเทศทางเครื่องบิน บริการส่งของไปต่างประเทศทางรถ บริการส่งของไปต่างประเทศทางเรือ บริการบรรจุสินค้า เตรียมเอกสารสำหรับส่งออก เดินพิธีการขาเข้าและขาออก สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ สอบถามซีพีแอล โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com ได้เลยค่ะ
รายการ WHAT IS
EP.11 : ตู้คอนเทนเนอร์
สนใจส่งสินค้าไปต่างประเทศ
กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ