ทำความรู้จักกับประเภทของธุรกิจ E-commerce

       ในปัจจุบันธุรกิจส่วนใหญ่นั้นมักจะเจาะกลุ่มตลาดออนไลน์เป็นหลัก และให้ความสำคัญกับธุรกิจ E-commerce เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้ใครๆต่างก็ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ จนทำให้ผู้ประกอบการหันมาเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจออนไลน์กันมากมาย CPLINTERจึงจะมาให้สาระน่ารู้เกี่ยวกับประเภทธุรกิจ E-commerce

 

ประเภทธุรกิจ E-commerce 

ประเภทธุรกิจที่ 1 B2C หรือ Business-to-Customer

       ธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการระหว่างเจ้าของธุรกิจ(B) และผู้บริโภครายบุคคล(C) เป็นประเภทธุรกิจ E-commerce ที่มีความสัมพันธ์ระยะสั้นระหว่างเจ้าของธุรกิจและผู้ซื้อโดยตรง ซึ่งปัจจุบันธุรกิจประเภทนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เนื่องจากมีการเข้าถึงระบบออนไลน์ และเว็บไซต์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น  ตัวอย่างธุรกิจ B2C ได้แก่ประเภทสินค้า เช่น อาหาร, เสื้อผ้า และ ประเภทบริการ เช่น สายการบิน, โรงแรม เป็นต้น  

ประเภทธุรกิจที่ 2 B2B หรือ Business-to-Business

         การทำการค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบ ด้านการผลิตสินค้า หรือการบริการ เพื่อประโยชน์หรือการพัฒนาธุรกิจขององค์กร โดยไม่ใช่การนำไปเพื่ออุปโภคหรือบริโภคเอง เช่น การซื้อผ้ามาเพื่อผลิตเสื้อ เป็นต้น ซึ่ง B2B ก็คล้ายกับ B2C ที่ขยายจากตลาดออฟไลน์มาสู่ตลาดออนไลน์ แต่ต่างกันตรงที่จะเปลี่ยนจากระหว่างลูกค้าและเจ้าของธุรกิจ มาเป็นเจ้าของธุรกิจและเจ้าของธุรกิจ   

ประเภทธุรกิจที่ 3 B2B2C หรือ Business-to-Business-to-Customer

          ธุรกิจ E-commerce ที่รวมเอาธุรกิจแบบ B2B และ B2C เข้าด้วยกัน เป็นประเภทธุรกิจที่เพิ่มความสามารถในการขายสินค้าและบริการให้ได้มากยิ่งขึ้นกว่าสองประเภทแรก โดยผู้ให้บริการ B2 เปรียบเสมือนเป็นตัวกลางในการทำงานกับคู่ค้าทางธุรกิจเพื่อลูกค้าปลายทาง เพราะ B2 จะต้องบริการให้กับลูกค้า ของ B1 อีกด้วย เรียกได้ว่า ผู้ให้บริการแบบ B2 ในธุรกิจ B2B2C เป็นผู้ช่วยธุรกิจของ B1 โดยการทำการค้าของทั้งสองธุรกิจมีจุดประสงค์เพื่อบริการ หรือขายสินค้าให้กับลูกค้าตัวจริงก็คือ C ตัวอย่างเช่น Marketplaceของไทย เช่นLazada Shopee ก็จะมีร้านค้าและแบรนด์ต่างๆ มาลงขายสินค้า เรียกได้ว่าธุรกิจแบบ B2B2C เป็นการรวมวิธีการและจุดประสงค์ของ ธุรกิจ B2B กับ B2C เข้าด้วยกัน   สรุปแล้ว จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันการทำธุรกิจแบบE-commerce เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะใครๆต่างก็ซื้อขายกันผ่านช่องทางออนไลน์หรือMarketplace เช่นเดียวกับการนำเข้าส่งออกสินค้าไปต่างประเทศก็สามารถที่จะซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์จากเว็บไซต์ต่างประเทศได้ โดยหากต้องการนำเข้าส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ CPLINTER เป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแบบครบวงจร ทั้งบริการส่งของไปต่างประเทศทางเครื่องบิน บริการส่งของไปต่างประเทศทางรถ บริการส่งของไปต่างประเทศทางเรือ บริการบรรจุสินค้า เตรียมเอกสารสำหรับส่งออก เดินพิธีการขาเข้าและขาออก สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ สอบถามซีพีแอล โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com

สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ

เพื่อให้การส่งของท่านเป็นไปอย่างราบรื่นสามารถนำรายละเอียดสินค้าที่ต้องการจะส่งมาให้เราช่วย ตรวจสอบก่อน

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ

แชทคุยโดยตรงได้ที่
LINE ID : @cplinter